Friday, September 13, 2024
Technology

รองประธาน Red Hat ระบุบริษัทยังส่งโค้ดกลับต้นน้ำเสมอ, คนดูดโค้ดไป build ไม่สร้างคุณค่าอะไร – SMS Marketing ราคาถูกที่สุด

99views

แนวทางของ Red Hat ที่บีบให้ดิสโทรที่ดูดโค้ดจาก RHEL ไปสร้างดิสโทรใหม่ได้ยากขึ้นในช่วงหลัง ซึ่งเป็นแนวทางต่อเนื่องมาตั้งแต่การทิ้ง CentOS 8 เมื่อปี 2020 สร้างความไม่พอใจกับชุมชนโอเพนซอร์สจำนวนหนึ่ง ล่าสุด Mike McGrath รองประธานฝ่าย Core Platform Engineering ของ Red Hat ก็ออกมาเขียนบล็อกตอบโต้ ความไม่พอใจเหล่านี้ ที่หลายคนวิจารณ์ว่า Red Hat กลายเป็นเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ปิด และได้รับแนวทางมาจากไอบีเอ็ม

McGrath ระบุถึงงานที่ Red Hat ต้องทำเพื่อซัพพอร์ตโค้ดจำนวนมากในระยะยาวถึง 10 ปีว่าเป็นงานที่หนัก และปกติแล้ว Red Hat ต้องซัพพอร์ต 3-4 รีลีสพร้อมๆ กันไป โดยกระบวนการแก้ไขบั๊กเริ่มตั้งแต่การทำงานร่วมกับโครงการต้นน้ำ, แก้ไขในดิสโทรต้นทางอย่าง Fedora หรือ CentOS Stream แล้วค่อย backport โค้ดมายังรีลีสเก่าๆ ลงมา แต่งานเหล่านี้ก็สร้างคุณค่าเพราะได้แพลตฟอร์มที่นิ่งเป็นเวลานานให้ลูกค้าและพาร์ตเนอร์ของ Red Hat ใช้งาน ขณะที่ดิสโทรอื่นๆ นั้นใช้ซอร์สโค้ดจาก git.centos.org โดยที่แทบไม่ต้องทำอะไร เพราะ Red Hat ถอดแบรนด์ออกจากโค้ดให้เสียด้วยซ้ำ และหลังจากนี้โค้ดยังอยู่ใน CentOS Stream ต่อไป ถ้ามีแพตช์ไหนหายไปก็แจ้งมาได้

ที่ผ่านมามักมีความเชื่อว่าการที่ดิสโทร rebuild โค้ดจาก Red Hat แล้วจะสร้างฐานผู้ใช้ที่กลับมาซื้อซัพพอร์ตจาก Red Hat แต่ McGrath ก็ระบุว่าในความเป็นจริงผู้ใช้จากองค์กรขนาดใหญ่กลุ่มหนึ่งเลือกใช้ดิสโทรที่ rebuild มาโดยอาศัยความนิ่งของ RHEL แต่ไม่ได้ช่วยซัพพอร์ตคนทำงานเบื้องหลังที่ทำให้แพลตฟอร์มนิ่ง

ในบทความ McGrath แยกระหว่างดิสโทรที่นำโค้ดจาก RHEL ไปใช้โดยตรงโดยเรียกว่า rebuilder ขณะที่เขาแยกคู่แข่ง เช่น SUSE, Canonical, AWS, และไมโครซอฟท์ที่ล้วนส่งโค้ดกลับโครงการต้นน้ำและแข่งกับ Red Hat โดยไม่บอกว่าทำงานเหมือนกับดิสโทรอื่นๆ และอีกกลุ่มคือนักพัฒนา เช่น กลุ่มทดลองดิสโทรกับชิปแบบใหม่ๆ ว่าสร้างคุณค่าและ Red Hat สนับสนุนเต็มที่

ที่มา – Red Hat

Bulk SMS และ SMS OTP

ราคาถูกพิเศษ สำหรับปริมาณมาก ติดต่อ LINE @deecom

Generated by Feedzy