Sunday, October 6, 2024
Technology

AIS จับมือวิศวะ จุฬา เผยโฉม AIS 5G PLAY GROUND & 5G GARAGE Sandbox พื้นที่ 5G R&D สำหรับภาคการศึกษา – SMS Marketing ราคาถูกที่สุด

222views

การมาถึงของเทคโนโลยี 5G ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องของความเร็วการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถืออย่างเดียว แต่ยังเป็นใบเบิกทางที่เปิดโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ได้อีกมากมาย อย่างไรก็ตามในแง่การใช้งานจริงของธุรกิจ ประโยชน์ของ 5G ยังต้องได้รับการพัฒนาและต่อยอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับอุตสาหกรรม

ดังนั้นทาง AIS จึงร่วมกับภาคการศึกษาอย่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยโฉม AIS 5G PLAY GROUND และ AIS 5G GARAGE ที่นับว่าเป็น Sandbox เป็นแห่งแรกในพื้นที่การศึกษา ให้เป็นพื้นที่การทดลอง วิจัยและเรียนรู้ และพัฒนา use case บนเครือข่ายจริงสำหรับนิสิตและอาจารย์

คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS ระบุว่าทาง AIS และคณะวิศวะ จุฬามีความร่วมมือกันมานานแล้ว โดยเฉพาะนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2018 ที่มีการทดลอง AIS 5G Sandbox ที่คณะก่อนเริ่มให้บริการจริงในปี 2020 และหลังจากนั้น ทั้ง 2 หน่วยงานก็มีความร่วมมือด้วยกันมาตลอด

คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศของ AIS

AIS 5G PLAY GROUND และ 5G GARAGE นี้ตั้งเป้า เป็นพื้นที่เรียนรู้ ทดลอง ทดสอบ 5G บนสภาพแวดล้อมจริงด้วยเทคโนโลยีต่างๆทั้ง AI, ML, VR, AR, MR, IoT, Metaverse, Robotic และอื่นๆ เท่าที่นิสิตนักศึกษาและอาจารย์จะทำได้

จุดเด่นของพื้นที่ทดลอง 5G แห่งนี้คือการมี Live Private Network แบ่งเน็ตเวิร์คแยกเป็นของคณะวิศวะ จุฬา โดยเฉพาะ ไม่ได้ใช้ร่วมกับใคร ด้วยคลื่น 2600 MHz และ คลื่น 26 GHz (mmWave) สำหรับการพัฒนา Use case ในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น Industrial solutions, Holograms Solutions หรือ Fixed Wireless Access-FWA เพราะช่วงความถี่อย่าง 26 GHz มีปริมาณ Bandwidth มหาศาลและความหน่วงต่ำมาก

นอกจากโครงข่ายแล้ว AIS ยังสนับสนุนอุปกรณ์ส่งสัญญาณอย่าง 5G CPE ไปจนถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของเทคโนโลยี 5G พร้อมทั้งการสัมมนา workshop จาก guest speaker หลากหลายวงการ เพื่อพัฒนาความรู้ ความชำนาญในทางเทคนิค ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill รวมไปถึงการเชิญชวนร่วม Co-Develop บริการต้นแบบบน 5G ด้วย

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าความร่วมมือครั้งนี้ จะไม่ได้มีประโยชน์แค่เป็นพื้นที่ให้อาจารย์หรือนิสิตใช้ทดลองหรือทดสอบเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่ให้ฝั่งวิชาการ ที่อาจจะเชี่ยวชาญในเชิงทฤษฎี งานวิจัย ได้ผนวกองค์ความรู้เชิงลึกกับคนที่ใช้งานจริง ซึ่งที่ผ่านมา นอกจากภาคเอกชน วิศวะ จุฬาก็ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐด้วย เช่น กสทช. หรือกระทรวงดิจิทัล เพื่อทดสอบทดลอง use case ต่างๆ

ศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โจทย์ของเทคโนโลยี 5G ยังคงอยู่ที่การหา use case และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ในแต่ละอุตสาหกรรมหรือธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความร่วมมือระหว่าง AIS และคณะวิศวะ จุฬาในครั้งนี้ นับเป็นก้าวเดินที่ตอบโจทย์ ไม่เพียงในแง่ธุรกิจ แต่ยังส่งเสริมภาคการศึกษา เปิดโอกาสในการเรียนรู้ในแง่การใช้งานจริง ส่งเสริมการพัฒนา use case ของ 5G ให้มากขึ้น และเป็นแหล่งบ่มเพาะบุคลากรด้านเทคโนโลยีที่จะมาร่วมกันพัฒนาประเทศให้เติบโตได้ต่อไป

Bulk SMS และ SMS OTP

ราคาถูกพิเศษ สำหรับปริมาณมาก ติดต่อ LINE @deecom

Generated by Feedzy