Eight Dollars: ส่วนขยายเบราว์เซอร์ที่ทำให้แยกง่ายว่าผู้ใช้ Twitter คนไหนยืนยันตัวตนจริง – SMS Marketing ราคาถูกที่สุด
หนึ่งในปัญหาล่าสุดของโลก Twitter ตอนนี้คือการเปิดบริการ Twitter Blue ในราคา 8 ดอลลาร์ที่ทำให้ใครก็สามารถโชว์เครื่องหมายถูกสีฟ้าตามหลังชื่อบัญชีของตัวเองได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องรอขั้นตอนยืนยันตัวตนแบบแต่ก่อนให้เสียเวลา ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการเปิดช่องให้คนสวมรอยเป็นคนอื่นได้เนียนๆ ง่ายขึ้นด้วยการจ่ายเงิน และยากที่ผู้ใช้ทั่วไปจะแยกออกว่าบัญชีที่มีเครื่องหมายนี้คือคนดังตัวจริง หรือเป็นบัญชีสำนักข่าว, บัญชีหน่วยงานรัฐ ของจริงหรือไม่
หนึ่งในวิธีการที่สามารถทำเพื่อแยกแยะได้ว่าผู้ใช้ Twitter รายไหนผ่านขั้นตอนยืนยันตัวตนและตรวจสอบข้อมูลโดยทีมงาน Twitter มาแล้วจริงๆ หรือเพียงแค่จ่ายเงิน 8 ดอลลาร์เพื่อซื้อเครื่องหมาย คือการกดเข้าไปดูรายละเอียดในหน้าโปรไฟล์ของผู้ใช้รายนั้นแล้วกดตรงเครื่องหมายถูกสีฟ้าเพื่อดูรายละเอียดว่าเครื่องหมายดังกล่าวได้มาอย่างไร ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องยาก แต่จุกจิกเสียเวลาและไม่คงไม่ใช่วิธีการอันน่าพึงพอใจสำหรับผู้ใช้ Twitter ส่วนใหญ่ที่ต้องการหาคำตอบว่าคนที่พวกเขาสนใจอยู่คือคนดังตัวจริงเสียงจริงหรือไม่?
อย่ากระนั้นเลยผู้ใช้ Twitter รายหนึ่งนามว่า Walter Lim จึงได้สร้าง Eighth Dollars ส่วนต่อขยายสำหรับ Chrome เพื่อทำให้การแยกแยะบัญชีที่มีเครื่องหมายถูกทำได้ง่ายขึ้น (ซึ่งเจ้าตัวบอกว่าใช้กับ Edge และ Firefox ได้ด้วย ส่วนเวอร์ชั่นสำหรับ Safari จะตามมาทีหลัง)
เมื่อผู้ใช้ Twitter ติดตั้ง Eight Dollars และเข้าใช้งาน Twitter ก็จะพบว่าเครื่องหมายถูกสีฟ้าหลังชื่อบัญชี Twitter แต่ละคนจะถูกแทนที่ด้วยป้ายข้อความ 2 แบบ แบบแรกสำหรับบัญชีที่มีการตรวจสอบยืนยันตัวตนจริงโดยทีมงาน Twitter จะแสดงข้อความว่า “Actual Verified” ส่วนผู้ใช้อีกกลุ่มที่ได้เครื่องหมายมาง่ายๆ โดยการจ่ายเงินแต่ไม่ผ่านการตรวจสอบตัวตนจริงๆ จะมีข้อความว่า “Paid for Verification” ปรากฏขึ้นมาแทน
ใครที่สนใจอยากใช้งานส่วนต่อขยายเบราว์เซอร์ชื่อ Eight Dollars นี้ก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ GitHub และสามารถติดตั้งด้วยตนเองโดยใช้โหมดนักพัฒนาของเว็บเบราว์เซอร์
ที่มา – Engadget
If you’re confused by the new Twitter Verification feature, I’ve been working with some friends on a Chrome Extension that helps you tell the differencehttps://t.co/zXkwzhXIc1 pic.twitter.com/pHTBswBnnE
— Walter Lim (@iWaltzAround) November 10, 2022