Saturday, July 27, 2024
Technology

ผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพที่ขายให้กูเกิล เล่าปัญหาวัฒนธรรมองค์กรเริ่มเสื่อมถอย ช้า ไม่กล้าเสี่ยง – SMS Marketing ราคาถูกที่สุด

186views

Praveen Seshadri ผู้ก่อตั้งบริษัท AppSheet แพลตฟอร์ม No Code ที่ขายให้กูเกิลในปี 2020 โพสต์บล็อกใน Medium เล่าว่าเขาลาออกจากกูเกิล หลังอยู่ครบสัญญา 3 ปีตามข้อตกลงตอนซื้อกิจการ และเล่าปัญหาวัฒนธรรมองค์กรของกูเกิลในช่วงหลัง ที่มีคนเยอะ มีกระบวนการซับซ้อน และทำอะไรช้าลงมาก

Praveen บอกว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาได้เห็นบริษัทที่เคยยิ่งใหญ่ต้องเสื่อมถอยลง เพราะเขาเคยทำงานกับไมโครซอฟท์ในปี 1999-2011 และเห็นการเสื่อมถอยลงแบบเดียวกัน จุดต่างที่เขาเห็นคือวัฒนธรรมของกูเกิลไม่ได้หยิ่งผยองหรือมีระบบศักดินาเหมือนไมโครซอฟท์ยุคนั้น สภาพของกูเกิลยังดีกว่า ยังมีความหวังที่สามารถพลิกฟื้นกลับมาได้ แต่จำเป็นต้องให้ฝ่ายบริหารเข้ามาแทรกแซงอย่างจริงจัง

เขาแยกประเด็นปัญหาของกูเกิลทั้งหมด 4 ข้อ ได้แก่ 1) ไม่มีเป้าหมาย 2) ไม่มีความรู้สึกเร่งด่วน 3) มีความเข้าใจผิดๆ ว่าตัวเองพิเศษกว่าคนอื่น 4) ปัญหาการบริหาร

Praveen บอกว่าตอนนี้ไม่มีพนักงานของกูเกิลคนไหนมาทำงานเพื่อ “organizing the world’s information” ตอบโจทย์ผู้ใช้นอกองค์กรอีกแล้ว พนักงานกูเกิลยุคนี้มีเป้าหมายในการทำงานเพื่อดูแลกระบวนการบางอย่าง (เช่น รีวิวความเป็นส่วนตัว) หรือเทคโนโลยีบางตัว (เช่น ดูแลระบบ CI/CD ขององค์กร) ภาพรวมคือทุกคนทำงานเพื่อพนักงานคนอื่นในบริษัท อยู่ในโลกระบบปิด

วัฒนธรรมแบบนี้ทำให้ทุกคนพยายาม “ไม่เสี่ยง” และต้องหากระบวนการมาช่วยการันตีความเสี่ยง ซึ่งทำให้กระบวนการภายในเยอะและล่าช้ามากขึ้นเรื่อยๆ อะไรที่รู้สึกเสี่ยง พนักงานของกูเกิลจะพยายามหลีกเลี่ยง ในการประชุม ทุกคนจะพยายามหาวิธีประนีประนอมที่ไม่ทำให้ใครโกรธ เพราะอาจมีผลต่อการประเมินประจำปี

บรรยากาศการทำงานที่กูเกิลยังมีความรู้สึกว่า “เพราะเราคือกูเกิล เราพิเศษกว่าคนอื่น” เช่น มีเทคโนโลยีภายใน (tech stack) ที่ดีที่สุดในโลก ซึ่งอาจเป็นจริงเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่แบบนั้นแล้ว แต่คนข้างในกูเกิลยังมีความรู้สึกแบบนั้นอยู่ และยึดติดจนไม่ยอมใช้เทคโนโลยีของบริษัทอื่นแม้ดีกว่าก็ตาม

Praveen ยังชี้ว่ากูเกิลมีพนักงานเพิ่มขึ้นเยอะมากในช่วง 2-3 ปีให้หลัง เขาเข้ามาทำงานในปี 2020 พอมาถึงปี 2022 เขามีอายุงานเยอะกว่าพนักงานครึ่งบริษัท การจ้างพนักงานเข้ามาเยอะๆ ย่อมนำคนที่มีปัญหาเข้ามา หรือเพิ่มลำดับขั้นภายในโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะฝ่าย Google Cloud ที่จ้างผู้จัดการระดับกลางย้ายข้ามมาจากบริษัทเทคสาย enterprise อื่นๆ ซึ่งอาจไม่เข้ากับวัฒนธรรมของกูเกิลนัก

เขาสรุปว่าทีมบริหารของกูเกิลควรดู Satya Nadella ที่พลิกฟื้นไมโครซอฟท์เป็นตัวอย่าง ตั้งแต่การกำหนดภารกิจขององค์กรให้ชัดเจน การใช้คนที่เน้น “ฮีโร่” และตอบแทนผลงานให้คุ้มค่า และการตัดลำดับชั้นบริหารระดับกลางๆ ที่สั่งสมมานานออกไป

ภาพจาก Shutterstock

เว็บไซต์ Ars Technica ชี้ว่า Praveen ไม่ใช่อดีตพนักงานกูเกิลคนแรกที่ออกมาโพสต์เล่าประสบการณ์ลักษณะนี้ ก่อนหน้านี้เคยมี Noam Bardin อดีตซีอีโอของ Waze ที่ลาออกในปี 2021 เคยออกมาโพสต์บล็อกเนื้อหาคล้ายๆ กัน บอกว่าเป้าหมายของพนักงานไม่ใช่การสร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี แต่เป็นทางผ่านเพื่อความก้าวหน้าในสายงานแทน ซึ่งเป็นการออกแบบระบบภายในของกูเกิลที่ให้ผลลัพธ์มาเป็นแบบนี้โดยไม่ตั้งใจ และไม่มีใครแคร์ที่จะแก้ปัญหานี้ตราบเท่าที่ราคาหุ้นยังดีอยู่

นอกจากนี้ วัฒนธรรมองค์กรของกูเกิลยังอาจมีข้อยกเว้นกับบางทีม ตัวอย่างคือ Noam Bardin อดีตพนักงานกูเกิลที่เคยทำงานระหว่างปี 2005-2018 เล่าว่าหลังย้ายมาอยู่กับทีม Android เขาพบว่าประสบการณ์ทำงานต่างจากทีมอื่นๆ ในกูเกิลมากจนแทบเป็นคนละบริษัท (Android is not Google) เหตุผลเป็นเพราะ Android ได้รับอิสระในการทำงานมากกว่ามาตั้งแต่แรก

ที่มา – Praveen Seshadri, Ars Technica

Topics: 

Bulk SMS และ SMS OTP

ราคาถูกพิเศษ สำหรับปริมาณมาก ติดต่อ LINE @deecom

Generated by Feedzy