MIT พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถตรวจพบโรคพาร์กินสันได้จากการหายใจ – SMS Marketing ราคาถูกที่สุด
Dina Katabi ศาสตราจารย์คณะวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเชตส์ (MIT) และคณะ ได้พัฒนาโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถตรวจพบโรคพาร์กินสันได้ โดยอาศัยการหายใจช่วงกลางคืนหรือตอนนอน
ตัวอุปกรณ์ที่ใช้จะมีลักษณะคล้ายเราท์เตอร์ Wi-Fi ปล่อยคลื่นวิทยุออกมาเมื่อคนไข้นอนหลับในเวลากลางคืน คลื่นวิทยุจะกระทบกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ รวมถึงร่างกายของคนไข้ และจับแพทเทิร์นการหายใจของคนไข้ ก่อนนำไปวิเคราะห์หาสิ่งบ่งชี้ ความร้ายแรงหรือติดตามอาการของโรคพาร์กินสันด้วยปัญญาประดิษฐ์
ข้อดีของวิธีนี้ คือ คนไข้และผู้ดูแลไม่จำเป็นต้องทำอะไรในการตรวจโรคและเป็นผลดีกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการดูแล ผู้ป่วยชนบท และผู้ที่มีปัญหาในการออกจากบ้าน แตกต่างจากวิธีเดิมๆ ที่ผู้ป่วยต้องไปโรงพยาบาลเพื่อสแกนสมองและเจาะน้ำไขกระดูกสันหลัง รวมทั้งการวิจัยนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนายาและการดูแลทางคลินิกต่อคนไข้พาร์กินสันด้วย เพราะโดยปกติแล้วโรคพาร์กินสันเป็นโรคที่วินิจฉัยยากและสามารถวินิจฉัยได้เมื่อแสดงอาการรุนแรงแล้วเท่านั้นซึ่งจะแสดงอาการหลังจากเริ่มเป็นโรคมาหลายปี
การวิจัยของ MIT ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนด้านการเงินจากหลายฝ่าย เช่น วิทยาลัยโรเชสเตอร์ โรงพยาบาลหลายแห่ง และรวมถึงสถาบันสุขภาพของสหรัฐด้วย
การวิจัยได้รับการตีพิมพ์เมื่อวานนี้ สามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่ Nature Medicine
ที่มา: MIT News